Sunday, November 22, 2009

ตั้งคำถามใหม่


ข้าพเจ้าตั้งคำถามผิด จึงทำให้คิดไม่ออกและเขียนอะไรมาลงเว็บไซต์ไม่ได้มาระยะหนึ่ง ลำดับความคิดของข้าพเจ้าที่จะทำให้เกษตรกรเลิกยึกๆยักๆ (ความหมายคือ ให้มาทำสิ่งที่ควรทำอย่างรวดเร็ว) คือ คนไม่มีกัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการ จากนั้นก็มุ่งมาเฉพาะเรื่องโยนิโสมนสิการ ว่าจะทำอย่างไรให้คนมีโยนิโสมนสิการได้ และก็มาเป็นขั้นตอนที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลง ๗ ขั้นตอนอ้างอิงตำราฝรั่ง จากนั้นก็เลยสมองตันเพราะว่ามัวแต่จะไปคิดอธิบายวิธีการแต่ละขั้นเป็นเรื่องๆไป


การเข้าสู่ความคิดทางทฤษฎีมากๆไม่ก่อประโยชน์อะไร นอกจากทำให้ข้าพเจ้าไม่ต้องเขียนอะไรต่อ อันที่จริงก็สบายดีแต่ผิดจุดประสงค์หลัก คือ จะเขียนไปเรื่อยๆ


จะทำอะไรใหม่ๆ ที่ไม่เสี่ยง ต้องมีความรู้พอสมควร เกษตรกรต้องมีความรู้ที่กว้างขวางไม่แพ้นักวิเคราะห์มวย ข้าพเจ้าคิดว่าการรวมกลุ่มของเกษตรนั้นดี ข้าพเจ้าไปคุยกับเพื่อนทีไรก็มีความคิดดีๆกลับมาทุกครั้ง มีทั้งที่คิดดีเพราะไปเห็นของดีและคิดดีเพราะไปเห็นของไม่ดี เสียอย่างเดียวเปลืองสตางค์


จากนี้ไปคำถามใหม่น่าจะช่วยให้ข้าพเจ้าสนุกขึ้นและเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านมากขึ้นเช่นกัน ข้าพเจ้าขอถามตัวเองว่า เกษตรกรแต่ละจังหวัดมีปัญหาอย่างไร จงอธิบายพอสังเขป?


เขียน ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ที่พระรามเก้า

Wednesday, November 4, 2009

Move to more serious topic


First I would like to talk the “Triumph” case ( from KrungThep Turakit). It’s very tedious and very usual case, like other 100 or 1000 cases before but now we have a better evolution. Let’s brief, the case is about the outsourcing business from Europe/USA and use the cheap labor in Thailand to be the based for the manufacture. But because of the outnumbered of cheap labor in China in the globalization era, the parent company decided to move the industrialized part to the cheapest-labor country. It’s the truth that we would like to accept. In addition to the law of economic, the owner of the outsourcing company in Thailand also neglect how to protect the employee. THEY SIMPLY CLOSE THE COMPANY AND GET AWAY.


It is almost 1 week since the last update. Today I will take about 3 stuffs. Let’s cut through the point because I have in a bad mood.

It’s very easy solution for the owner. Once in Thai motto says “The rich people fall on the cotton bed”. However, it’s very pity that “the poor people fall on the concrete or even some people feel like they fall from the roof”. As I said the better transformation is they have their own brand, “Try Arm”. To tell you the truth, it sound funny at the first time that I heard it. It’s also sound like the second or third grade brand. Though, it’ not the point that I would like to present. I would like to illustrate that even though the brand look simple, ridiculous, and funny, it is the first small step that Thai society should make - build our own brand and if we don’t we will still be the economy slave for the foreign companies forever. Actually, I personally don’t hate the foreigner ;-).

Long Term "Rough Rice" prices



Medium Term "Rough Rice" prices



Let’s move to the second issue which is about the price of the “Rough Rice” – Kao Ploug. I have some experience in trading in the commodities market such as Rubber, Rice, and Gold. Usually the trend of the whole commodities market move in the same way. This mean if gold goes up, silver goes up, rice goes up, and oil goes up. However, this is just my assumption and if you want to know exactly, you have to build the correlation of each asset in the matrix. To be more deeper details, the commodities prices are inverse with the Dollar price (Dollar index which is the dollar basket – www. Cmegroup.com). If the dollar still depreciates (Thai baht appreciate – Bath Stronger), this will make the commodities prices edge higher. Let’s think this way, I am a rich man and have USD100. I don’t want my money to lose value due to the currency rate. I have to do something. I have to put my money somewhere or investing in some products which can preserve my money at least. There are many ways such as converting in to Australian dollar, Chinese Yuan, and New Zealand Dollar or keeping in term of gold, silver, rice, and oil. This is one of the reason that the commodities prices have the strong outlook. Let’s look at the pictures – Gold/Rice/Dollar. I think it’s a full of text I will put the third issue that I would like to make a point next time. Good luck. ;-)

Long Term Gold Prices


Long Term Dollar Index

Wednesday, October 28, 2009

"Another our role model"

Actually I don’t neither know him personally nor his reputation on his works. I just heard his name before. After I read the “Bangkok Biz News”, it turns out that his concept and his works are far more than the ordinary interesting. It’s what we want to be and what we want to stand in the future. The aim of our business is not only the profit on bottom line, but also the meaningful contribution to the society. Mr.Meechai said it’s the “Business for Social Progress”. I believed this trend of concept (Business for Social Progress) is forming all around the world, for example, carbon credit, renewable energy, and biodiesel – ethanol (in Brazil). Also, in the near future, in our life time, I am quite sure we will see such a lot of this kind of businesses. The following is the article from กรุงเทพธุรกิจ.

คนรุ่น "เบบี้ บูมเมอร์" ต่างรู้จัก "มีชัย วีระไวทยะ" ดี จากพลังการสื่อสารรณรงค์การคุมกำเนิด ที่เขาหยิบ "ถุงยางอนามัย" มาเป็นเครื่องมือแถมพกด้วยกลยุทธ์มิวสิคมาร์เก็ตติ้ง จนติดปากกันไปทั่วว่า "ลูกมากจะยากจน" 35 ปีผ่านไป เขาสามารถสร้าง "ความเปลี่ยนแปลง" ให้เกิดขึ้นกับสังคมไทยมากมาย ด้วยผลจากการทำงานในสไตล์ Walk the Talk
"เครื่องมือหลัก" ในการทำงานด้านพัฒนาสังคมของ มีชัย วีระไวทยะ ขณะนี้คือ "ขุมข่ายกลุ่มทุน" จากภาคธุรกิจ ให้เข้ามามีส่วนเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านวางแผนครอบครัว งานต่อสู้โรคเอดส์ และงานพัฒนาชุมชนทำให้สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนได้รับแรงหนุนจากภาคธุรกิจทั้งในประเทศ และต่างประเทศมากกว่า 400 บริษัท เกิดโครงการต่างๆ กระจายทั่วประเทศครอบคลุมพื้นที่ดำเนินการกว่า 25,000 หมู่บ้าน และเป็นโครงการที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 2,500 หมู่บ้าน ภายใต้การดูแลของบริษัท 18 แห่ง คิดเป็นเม็ดเงินระดมทุนไม่น้อยกว่า 1,200 ล้านบาท เงินจำนวนนั้น ช่วยให้ชุมชนสามารถสร้างรายได้มากกว่า 3,700 ล้านบาท
"นี่คือโมเดลใหม่ของการทำงานเพื่อสังคม"
มีชัยบอกว่า ในทัศนะของเขา ขอเรียกสิ่งที่สมาคมทำว่าเป็น "Business for Social Progress" ไม่ใช่ "Social Enterprise" ที่แม้จะอยู่ในคอนเซปต์การทำธุรกิจเพื่อสังคม เน้นความยั่งยืนเช่นเดียวกันก็ตาม เพราะในต่างประเทศคำว่า Social Enterprise จะหมายถึงองค์กรไม่แสวงหากำไร เช่น มูลนิธิ หรือสมาคม ที่กฎหมายเปิดให้ดำเนินธุรกิจได้เพื่อเป้าหมายทางสังคม นโยบายการดำเนินกิจการของ 18 บริษัทนั้น มีหลักการสำคัญคือ รายได้หรือผลกำไร บริษัทจะใช้สำหรับการทำธุรกิจเพื่อสังคม หรือใช้ในงานสาธารณประโยชน์เท่านั้น ผู้ถือหุ้นไม่มีความประสงค์จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการถือหุ้น แต่สามารถส่งมอบสิทธิในการถือหุ้นให้บุคคลอื่นหรือทายาทได้ ภายใต้บรรทัดฐานเดิม ในแง่การทำธุรกิจ บริษัทเหล่านี้จะรับซื้อสินค้าจากชุมชนในราคาเหนือกว่าราคาตลาดโดยเฉลี่ย 10-20 เปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกันชุมชนยังได้รับความรู้เรื่องการบริหารจัดการ การจำหน่ายวัตถุดิบ การบริหารการตลาด จากบริษัทดังกล่าวด้วย เท่ากับว่าบริษัทจะลงมาช่วยชุมชนทำธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ "ผมเริ่มต้นจากการชักชวนคนที่รู้จักรักใคร่สนิทสนมให้มาลงทุน บอกพวกเขาไปว่าลงทุนในแบงก์ได้แต่ดอกเบี้ยกับกำไรนิดหน่อย แต่ลงทุนกับสมาคมจะได้ความสุข เช่นเดียวกัน ผมจะบอกพนักงานของผมว่า ทำงานกับสมาคมได้กำไรสองอย่างนะ อย่างแรกคือเงินเดือน อย่างที่สองคือความสุข" มีชัยบอกว่า สังคมไทยยังตื่นตัวเรื่องการทำธุรกิจเพื่อสังคมน้อย เหมือนการปีนเขา ไม่รู้เมื่อไหร่จะถึงยอดเขา เลยรู้สึกเหนื่อยง่าย แต่เมื่อถึงยอดเขาแล้วก็จะไหลลื่น "ต้องปลุกระดม" กันอีกมาก เขาบอก ก่อนเล่าว่า รู้สึกตกใจเล็กน้อยที่อ่านข่าวพบว่าองค์กรระดับโลกอย่างสโมสรโรตารี่ ยอดเงินบริจาคหดหาย เพราะนั่นเป็นภาพสะท้อนว่าโลกเปลี่ยนไปจากอดีตมาก การรอหวังเงินบริจาคจะไม่ใช่คำตอบอีกต่อไป "ตลอด 35 ปีที่ดำเนินการ สมาคมยืนหยัดอยู่ได้ด้วยการพึ่งตนเอง แต่ผมไม่ใช่นักธุรกิจนะ ผมเป็นเอ็นจีโอ" มีชัยไม่เพียงแต่สร้างพลังและขยายฐานเครือข่ายภาคธุรกิจในระดับประเทศ แต่ยังได้สร้างแผนที่การเดินทางให้สมาคมเป็นที่รู้จักในกลุ่มประชาคมโลกและ องค์กรระหว่างประเทศ โดยจัดตั้งมูลนิธิ Population and Development International หรือ พีดีไอ ในประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้น เพื่อหาทุนในระดับต่างประเทศ และทุกวันนี้ ใครๆ ต่างรู้จักสมาคมหรือพีดีเอ Population and Development Association ดี ในฐานะองค์กรพัฒนาเอกชนสัญชาติไทยที่ได้รับรางวัลระดับโลกมากที่สุด เช่น รางวัลผู้นำด้านธุรกิจเพื่อสังคม ปี 2551 จากมูลนิธิสกอลล์ (Skoll) มูลค่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รางวัล Gates Award for Global Health 2007 จาก The Bill & Melinda Gates Foundation ซึ่งนับเป็นรางวัลด้านสาธารณสุขที่ใหญ่ที่สุดของโลก มูลค่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐเช่นกัน และมีชัยยังได้รับรางวัล Asian Hero Award (2549) จากนิตยสาร Time Magazine และอีกมากมาย ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีชัยผ่านประสบการณ์งานหลากหลาย ทั้งงานภาคธุรกิจ ภาคการเมือง จึงสามารถประยุกต์และสั่งสมทักษะด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน ที่สำคัญ น่าจะเป็น "บุคลิกเฉพาะตัว" คือทำงานแบบถึงลูกถึงคนและมีความรอบรู้ในสิ่งที่ทำ
"สไตล์การบริหารงานของผมคือ walk & talk เดินไปพูดคุยกับทีมงาน แต่ไปเพื่อจับถูกนะ ไม่ใช่จับผิด ไถ่ถามสารทุกข์สุกดิบ ซึ่งไม่ใช่แค่ตัวเขาแต่ถามไปถึงลูกถึงหลาน ระหว่างนั้นเราจะสังเกตได้เลยว่าใครมีปัญหาหรือมีความสุขกับงานขนาดไหน" บนเส้นทางนักพัฒนา มีชัยกลับบอกว่า เขาไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้เสียสละ นอกจากทำในสิ่งที่ชอบและสนุกกับงานแบบนี้ เท่านั้นเอง "ครอบครัวมีส่วนเพราะผมเห็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ผมปฏิบัติกับผู้คนตั้งแต่ผมยังเด็กๆ ระหว่างคนที่มีโอกาสกับคนด้อยโอกาส"
นั่นเป็นแรงบันดาลใจ มีชัยเล่าว่า ในวัยเด็ก เขามักติดตามคุณพ่อคุณแม่ซึ่งเป็นหมอไปเล่นที่คลิกนิก แต่อดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมคลินิกแห่งนี้ถึงมีห้องคนไข้ห้องเล็กๆ แยกตัวออกมาต่างหากอีกห้องหนึ่ง เลยถามคุณแม่ ก่อนได้คำตอบว่า ในโลกนี้มีคนที่เกิดมาแล้วมีชีวิตที่ "ได้เปรียบ" คนอื่น เราควรช่วยคนที่ "เสียเปรียบ" เมื่อเห็นว่าตนเองจัดอยู่ใน "คนกลุ่มแรก" เขาจึงยึดเอาแนวคิดต้องช่วยเหลือผู้ที่เสียเปรียบมาใช้โดยตลอด

Friday, October 23, 2009

ทำอย่างไรให้เลิกยึกๆยักๆ

การทำให้คนหนึ่งคนเลิกยึกๆยักๆ คงจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนสำหรับคนคนนั้น ถ้าคนจำนวนมากเลิกยึกๆยักๆ ก็น่าจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ในสังคมที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนสำหรับสังคมนั้นๆ แต่ผลลัพธ์จะดีหรือชั่วข้าพเจ้าไม่รู้ เดาเอาว่าคงเป็นทางดี
มีความจำเป็นต้องกล่าวถึงธรรมที่ทำให้งานสำเร็จคืออิทธิบาท๔ ก่อนที่จะเจาะจงไปในการแก้ปัญหายึกๆยักๆได้ ข้าพเจ้าไปคัดลอกมาจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

อิทธิบาท๔ (คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย - path of accomplishment; basis for success)
๑. ฉันทะ (ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป - will; aspiration)
๒. วิริยะ (ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย - energy; effort; exertion)
๓. จิตตะ (ความคิด คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป - thoughtfulness; active thought)
๔. วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่ง ที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น - investigation; examination; reasoning; testing)


อย่าไปพูดถึงข้ออื่นให้เสียเวลาถ้าบุคคลไม่มีฉันทะ เราจะทำอย่างไรให้เกษตรกรคนหนึ่งมีฉันทะเรียนรู้สิ่งต่างๆได้? ตามประโยคด้านบนนั้นข้าพเจ้าคิดว่าการมีฉันทะคือมีความใฝ่ใจรัก ดังนั้นการวิริยะในความหมายของอิทธิบาท๔คือต้องมีความเพียรในสิ่งที่ใฝ่ใจรัก ถ้าทำสิ่งใดเพราะโดนสภาพแวดล้อมบังคับล้วนๆข้าพเจ้าเดาว่าไม่ใช่วิริยะในความหมายนี้
จะมีอะไรที่ช่วยสร้างฉันทะ ปัจจัยภายนอกควรจะมีกัลยาณมิตร ปัจจัยภายในควรจะมีโยนิโสมนสิการ ขออ้างอิงแหล่งความรู้เดิมดังนี้

กัลยาณมิตตตา (ความมีกัลยาณมิตร คือ มีผู้แนะนำสั่งสอน ที่ปรึกษา เพื่อนที่คบหา และบุคคลผู้แวดล้อมที่ดี, ความรู้จักเลือกเสวนาบุคคล หรือเข้าร่วมหมู่กับท่านผู้ทรงคุณทรงปัญญามีความสามารถ ซึ่งจะช่วยแวดล้อม สนับสนุนชักจูง ชี้ช่องทาง เป็นแบบอย่าง ตลอดจนเป็นเครื่องอุดหนุนเกื้อกูลแก่กัน ให้ดำเนินก้าวหน้าไปด้วยดี ในการศึกษาอบรม การครองชีวิต การประกอบกิจการ และธรรมปฏิบัติ, สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดี - having good friend; good company; friendship with the lovely; favorable social environment) ข้อนี้เป็น องค์ประกอบภายนอก (external factor; environmental factor)
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิตฉันใด ความมีกัลยาณมิตรก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น”
“ความมีกัลยาณมิตร เท่ากับเป็นพรหมจรรย์ (การครองชีวิตประเสริฐ) ทั้งหมดทีเดียว เพราะว่า ผู้มีกัลยาณมิตรพึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ จักเจริญ จักทำให้มากซึ่งอารยอัษฎางคิกมรรค”
“อาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร เหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ก็พ้นจากชาติผู้มีชราเป็นธรรมดา ก็พ้นจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ก็พ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดา ก็พ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส”
“เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายนอกอื่นแม้สักอย่างเดียว ที่มีประโยชน์มากสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ เหมือนความมีกัลยาณมิตร, ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร ย่อมกำจัดอกุศลได้ และย่อมยังกุศลให้เกิดขึ้น”
“ความมีกัลยาณมิตร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่, เพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม” ฯลฯ


โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดย อุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย - reasoned attention: systematic attention; analytical thinking; critical reflection; thinking in terms of specific conditionality; thinking by way of causal relations or by way of problem-solving) และเป็น ฝ่ายปัญญา (a factor belonging to the category of insight or wisdom)
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น”
“เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายในอื่นแม้สักอย่างเดียว ที่มีประโยชน์มากสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ เหมือนโยนิโสมนสิการ ภิกษุผู้มีโยนิโสมนสิการ ย่อมกำจัดอกุศลได้ และย่อมยังกุศลให้เกิดขึ้น”
“เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญยิ่งขึ้น เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”
“เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ความสงสัยที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกขจัดเสียได้ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”
“โยนิโสมนสิการ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่, เพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม” ฯลฯ
ธรรมข้ออื่น ที่ได้รับยกย่องคล้ายกับโยนิโสมนสิการนี้ ในบางแง่ ได้แก่ อัปปมาทะ (ความไม่ประมาท - earnestness; diligence), วิริยารัมภะ (การปรารภความเพียร, ทำความเพียรมุ่งมั่น - instigation of energy; energetic effort), อัปปิจฉตา (ความมักน้อย, ไม่เห็นแก่ได้ - fewness of wishes; paucity of selfish desire), สันตุฏฐี (ความสันโดษ - contentment), สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว, สำนึกตระหนักชัดด้วยปัญญา - awareness; full comprehension); กุสลธัมมานุโยค (การหมั่นประกอบกุศลธรรม - pursuit of virtue); ฉันทสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ - possession of will), อัตตสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งตนคือมีจิตใจซึ่งพัฒนาเต็มที่แล้ว - self-possession; self-realization), ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ - possession of right view), และ อัปปมาทสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งอัปปมาทะ - possession of earnestness)

ถึงตรงนี้ข้าพเจ้ากลัวว่าผู้อ่านจะเลิกอ่านบทความของข้าพเจ้า จึงขอกล่าวถึงเรื่องเดียวกันในอีกมุมมองหนึ่ง ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือชื่อ การตลาดเพื่อสังคม ของคุณพรทิพย์ สัมปัตตะวนิช ได้อ้างอิงถึง Robinson, L. (1998). A 7 Steps Social Marketing Approach. พูดถึงขั้นตอน ๗ ขั้นที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคม ข้าพเจ้าอ่านแล้วคิดว่า มันก็คือการทำให้เลิกยึกๆยักๆนั่นเอง ดังนี้
ขั้นที่๑ Knowledge – “I know/I should”
ขั้นที่๒ Desire – “I want to”
ขั้นที่๓ Skills – “I can”
ขั้นที่๔ Optimism – “It’s worth”
ขั้นที่๕ Facilitation – “It’s easy”
ขั้นที่๖ Stimulation – “I’m joining in”
ขั้นที่๗ Reinforcement – “That was a success”

รายละเอียดเป็นอย่างไรนั้น ข้าพเจ้าอยากจะบรรยายไปพร้อมๆกับเหตุการณ์ที่ข้าพเจ้าประสบพบมา ซึ่งคงจะต้องเป็นครั้งต่อไป เพราะครั้งนี้รู้สึกว่ายาวเกินไปเสียแล้ว

เขียน ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ ที่เชียงใหม่พลาซ่า

Thursday, October 22, 2009

Non-toxic vegetables

Today I will talk about the unpolluted/non-toxic vegetables. In this term I mean the vegetables without the anti-bug/fungi spraying. This morning I read the news about professor in Thanmasat University‘s work. He said about his occupation in turning the house-hold waste in to be the fertilizer and plating the non-toxic vegetables in the plastic bags. I heard this idea before; however, it’s hardly famous in Thailand (just only in my opinion). Still, I like the ways he thinks. Let’s talk about something near my life which may be it’s a good illustration. Usually, in the big shops in Switzerland, there is one section for the non-toxic vegetable. It’s quite obvious that the prices are a bit expensive than the normal ones. Yet, Swiss people buy them. I found that people in here basically take care themselves well. There are not a lot of fat/chubby people here comparing to Germany (my German friend told me). It’s often that you will see the old people cycling, jogging and hiking or even in the GYM. Noticeably, they also seriously choose what they will eat. Because of their culture and behavior, I think these are the main reasons. Ok, let’s move back to Thailand. I still believe that there are a lot of hidden demands for the non-toxic vegetables/fruits in the big city like Bangkok. Furthermore, the new generation of city people generally takes care of themselves as you have seen from the growth of foreign fitness center. As a result, I think, the growth of non-toxic vegetables/fruits is not far from our imagining.





























เรื่องง่ายๆ อีกเรื่องของคนรักษ์โลก เขาใช้ของเหลือใช้พวกกิ่งไม้ ตอไม้ เศษอาหารมาทำปุ๋ยและดินอินทรีย์ และที่ง่ายไปกว่านั้นคือปลูกผักในถุง วิธีแบบนี้ขอย้ำว่าเป็นเรื่องการบูรณาการ

“ผมใช้ของที่คนอื่นทิ้งๆ ขว้างๆ มาทำให้เกิดประโยชน์ ปัจจุบันพืชผักมีการใช้สารเคมีเยอะ และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผมทำเรื่องบูรณาการการเลี้ยงหมูชีวภาพและเกษตรไร้สารมานาน ผมชอบการเกษตร เลี้ยงสัตว์ปลูกพืชผัก อย่างปัสสาวะหมูมีกลิ่นเหม็น แต่นำมาใช้ประโยชน์ได้ ผมพยายามศึกษาเรื่องการเลี้ยงหมูไม่ให้มีกลิ่นเหม็น ผมเคยทำวิจัยเรื่องการเลี้ยงหมูบนขี้เลื้อยและได้ผล แต่ตอนหลังขี้เลื้อยแพง ผมก็เลยคิดวิธีการใหม่ ผมเห็นว่า ในมหาวิทยาลัยมีการตัดแต่งต้นไม้ข้างทางบ่อยๆ มีใบไม้กิ่งไม้เยอะ ผมก็ขอมาทำปุ๋ย นำของเหลือใช้พวกนี้มากองบนพื้นเล้าหมูให้หมูย่ำ นี่คือ การทำปุ่ยหมักดีๆ นี่เอง“ รศ.กษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต กล่าว

อาจารย์กษิดิศ เริ่มจากการใช้วัสดุเหลือใช้ ช่วยดูแลทั้งสิ่งแวดล้อมและได้บูรณาการองค์ความรู้ โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ ซึ่งได้ผลอย่างเหลือเชื่อ ยกตัวอย่าง การเอาใบไม้กิ่งไม้มากองรวมกันในเล้าให้หมูเหยียบย่ำ นอกจากช่วยดูดกลิ่นอุจจาระปัสสาวะ ยังทำเป็นปุ๋ยหมักได้ด้วย

"เมื่อนำออกจากเล้าหมู ผมเอามากองรวมกัน คลุมด้วยพลาสติก 3-4 สัปดาห์ กิ่งไม้และขี้หมูก็ค่อยๆ ย่อยสลายเป็นดินนำมาปลูกผักได้" อาจารย์กษิดิศ เล่าและบอกว่า “ดินพวกนี้ใช้ปลูกผักในถุงดำ งามดีกว่าดินผสมที่ขายตามปั๊ม เพราะปุ๋ยอินทรีย์ได้ดูดซับธาตุอาหารไว้เยอะ สามารถปลูกต้นไม้ได้โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยใดๆ เพิ่ม”

หากไม่มีมูลหมู อาจารย์กษิดิศ แนะวิธีการทำดินใช้เองสำหรับคนเมืองว่า อาจใช้เศษอาหารที่จะนำไปทิ้งในถังขยะมากองคลุกรวมกับใบไม้ที่บ้าน รับรองได้ว่าไม่มีกลิ่นเหม็น วิธีการนี้จะต่างจากทิ้งเศษอาหาร เศษผลไม้ไว้เฉยๆ จะมีกลิ่นเหม็น

ข้อสำคัญต้องมีใบไม้ เพราะมันช่วยดูดซับจุลินทรีย์ให้ย่อยสลายได้ดี ยิ่งใบไม้แห้งยิ่งดี จากนั้นเอาตาข่ายพลาสติกคลุมเพื่อกันฝนชะ การคลุมแบบนี้เพื่อรักษาความชื้นให้จุลินทรีย์ย่อยสลาย ซึ่งวิธีการแบบนี้สามารถทำดินได้หลายกอง

“ถ้าไม่มั่นใจ ลองเอามือสัมผัส ดูจากสีและกลิ่นมีความหอมดิน ชิ้นใบไม้ละเอียดสามารถนำมาใช้ได้เลย"

จากนั้นเอาดินชีวภาพมาปลูกผักในถุงละหนึ่งต้น แค่รดน้ำไปเรื่อยๆ ไม่ต้องกลัวแฉะ เพราะการระบายน้ำดีมาก ผักที่อาจารย์กษิดิศทดลองปลูกมีตั้งแต่ผักชี ผักกาด คื่นฉ่าย ฯลฯ จากเขาลองนำไปขายต้นละห้าบาท ปรากฏว่า ขายได้ เพราะคนซื้อชอบเหมือนไม้ประดับ และสามารถตัดผักสดๆ ไร้สารกินได้เลย

“อย่างคะน้าตัดเฉพาะยอด จากนั้นอีกสิบวันก็ตัดกินได้อีก ผมใช้พื้นที่เล็กๆ ของมหาวิทยาลัยทำเล้าเลี้ยงหมูชีวภาพ ปลูกผักในกระถางและถุงดินเล็กๆ เลี้ยงปลาดุก และทำน้ำหมักชีวภาพ ที่บ้านผมก็ปลูกผักแบบนี้ เวลาผมอยากทำแกงจืด ผมก็เด็ดผักสดๆ จากกระถางได้เลย"

การปลูกผักง่ายๆ แบบนี้ อาจารย์กษิดิศเคยเปิดคอร์สสอนให้ฟรี เพราะอยากให้คนเมืองปลูกผักกินเอง

เลี้ยงหมูชีวภาพ
แม้หมูพันธุ์ที่อาจารย์กษิดิ ศเลี้ยงต้องให้อาหารสำเร็จรูปในช่วงแรก แต่หลังจากนั้นเขาใช้เศษอาหารในมหาวิทยาลัยมาต้มน้ำคลุกกับผักเลี้ยงหมู

“หมูที่ผมเลี้ยงปลอดจากสารเร่งเนื้อแดง แม้หมูจะโตช้าแต่คนกินได้อาหารที่ดี ก็มีคนมาดูงาน แต่คนไปทำแบบไม่ยั่งยืน เพราะวิถีการเลี้ยงหมูแบบชาวบ้านเปลี่ยนไป จากพันธุ์พื้นเมืองเลี้ยงง่าย มันเยอะ เนื้อแดงน้อย เปลี่ยนมาเลี้ยงพันธุ์ต่างประเทศด้วยอาหารสำเร็จรูป โตเร็วแต่มีกลิ่นเหม็น เนื้อแดงเยอะ มันน้อย แต่ต้นทุนสูง หมูพวกนี้เลี้ยงดูหยวกกล้วย ผักตบไม่ได้แล้ว"

อาจารย์กษิดิศอยากให้ชาวบ้านกลับมาเลี้ยงหมูพันธุ์พื้นเมืองเหมือนเดิม ข้อสำคัญไม่ควรเร่งให้โตเร็ว ต้องลดอาหารสำเร็จรูป เลี้ยงแบบชีวภาพให้หมูย่ำเศษใบไม้ กิ่งไม้ ใบหญ้าเพื่อลดกลิ่นเหม็น ซึ่งเป็นโครงการที่เขาพยายามทำ
อีกอย่างที่อาจารย์กษิดิศใช้คือ น้ำสมุนไพรเพื่อใช้เลี้ยงหมูและไล่แมลง ซึ่งได้ผลมาก และไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงใดๆ ในการต้มน้ำร้อน

“ผมเอาเศษอาหารมาหมักกับกากน้ำตาล ทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ เศษอาหารพวกนี้จะไม่มีกลิ่นเหม็น แต่มีกลิ่นคล้ายของดอง เราก็นำมาผสมกับรำให้หมูกิน หมูกินแล้วจะทำให้ระบบย่อยอาหารดี นอกจากนี้ยังนำมาผสมน้ำพ่นเล้าหมูควบคุมกลิ่นและหนอนแมลงวันได้ด้วย “

นอกจากนี้อาจารย์กษิดิศยังใช้เศษไม้เหลือใช้ในมหาวิทยาลัยมาเผาเป็นถ่าน และทำน้ำส้มควันไม้ จากนั้นนำถ่านมาบดให้หมูกิน เพื่อดูดซับสารพิษและแก้ท้องเสีย

"บางครั้งก็เอาถ่านพวกนี้ผสมกับปุ๋ยหมักทำให้ดินดี เพราะเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ ผมใช้ถ่านพวกนี้ไปย่างปลาดุกที่ผมเลี้ยงด้วยหนอนมูลไก่และเศษอาหาร ผมใช้ของทิ้งๆ ขว้างๆ อย่างดินจอมปลวก ผมก็ให้คนขุดมาเลี้ยงปลาดุก "

ขุมทรัพย์ในกองขยะ
แม้เรื่องเล็กๆ ที่อาจารย์กษิดิศทำในแปลงทดลองทั้งการเลี้ยงปลาดุก เลี้ยงหมู ปลูกต้นไม้ในถุง รวมถึงผลิตน้ำหมักชีวภาพ น้ำส้มควันไม้และการเผาถ่าน แม้จะมาจากวัสดุเหลือใช้ในมหาวิทยาลัย ก็ต้องมีต้นทุนบ้าง

อาจารย์กษิดิศบอกว่า ใช้เงินส่วนตัวลงทุน อีกอย่างเป็นการบูรณาการความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน เพราะเป็นการทำตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งคนมาช่วยก็เป็นคนในชุมชนรอบๆ มหาวิทยาลัยมาลงแรง ถ้ามีกำไรก็แบ่งให้

แม้กระทั่งขยะในมหาวิทยาลัย อาจารย์กษิดิศยังเห็นว่า สามารถสร้างรายได้ให้คนในชุมชน และไม่น่าเชื่อว่า เดือนหนึ่งทำรายได้กว่าหนึ่งแสนบาท

“ขยะพวกนี้ถูกแม่บ้านเลือกพวกกระดาษและพลาสติกไปแล้วรอบหนึ่ง ขยะที่เหลือในถุงดำที่จะฝั่งกลบ ผมเอาชาวบ้านมาคัดขยะ แล้วให้รายได้กับพวกเขา ผมแค่บริหารจัดการระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัย”

วิธีการคัดขยะที่อาจารย์กษิดิศวางแนวทางไว้คือ ผู้คัดขยะต้องใส่ถุงมือ รองเท้าบู้ต และใส่หน้ากาก

“ข้อสำคัญการแยกขยะแบบนี้ไม่ต้องเดินหา พวกเศษเหล็ก แก้ว ขวด ขายได้หมด มีพลาสติกอีกหลายชนิดที่ผ่านตาคนคัดขยะรอบแรก ถุงพลาสติกบางๆ ที่ใส่ของนำมาขายได้ แผ่นซีดีที่คนทิ้ง ซึ่งผมไม่เอารายได้ตรงนี้ แต่เวลามีงานอะไรให้คนงานทำ เขาก็มาช่วยเรา”

อีกเรื่องที่อาจารย์กษิดิศกำลังจะทำคือ นำถังกากน้ำตาลผสมน้ำตั้งไว้ในโรงอาหาร แล้วขอความกรุณาให้นักศึกษาทิ้งเศษอาหารในถังเพื่อทำน้ำหมักชีวภาพ

“เศษอาหารที่หมักในส่วนนี้ ผมนำมาเลี้ยงปลา นำน้ำหมักชีวภาพมาบำบัดกลิ่นเหม็นและผสมน้ำรดต้นไม้”

แม้จะเป็นเรื่องง่ายๆ ทั้งเรื่องน้ำหมักชีวภาพ แต่มีหลายคนทำไม่เป็น เพราะนึกไม่ออก ถ้าไม่มีกากน้ำตาล ก็ใช้น้ำตาลทรายแดงหรือผลไม้รสหวานมาผสมน้ำคลุกกับเศษอาหาร ทำให้เกิดจุลินทรีย์ย่อยสลายได้

"การปลูกผักด้วยดินอินทรีย์ในถุง จะมีการสาธิตในงานผลิตภัณฑ์อินทรีย์และผลผลิตตลาดสีเขียวชุมชนที่อุทยานเบญจ สิริ ช่วงวันที่ 10-13 ธันวาคมนี้

การปลูกผักแบบชีวภาพไม่ยากเลย ผมจะสอนวิธีทำดินด้วย อยากเผยแพร่ให้ความรู้การปลูกผักในพื้นที่เล็กๆ ซึ่งง่ายมาก ผมคิดว่า คนเมืองก็อยากปลูกผักแบบนี้ เป็นความสุขเล็กๆ ทางมหาวิทยาลัยก็เคยอบรมให้ผู้สนใจ หากผมเกษียณเมื่อใด ผมจะทำเป็นศูนย์เรียนรู้ ”

ในอนาคตอันใกล้ อาจารย์กษิดิศบอกว่า จะทำเป็นมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย เพื่อสนับสนุนให้ชาวบ้านทำเกษตรอินทรีย์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต กำลังจะเปิดสอนระดับปริญญาโทด้านเกษตรอินทรีย์ โดยรับคนจบปริญญาตรีทุกสาขา

เมื่อถามว่าเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องทำเรื่องพวกนี้ให้ชุมชน ด้วยหรือ อาจารย์กษิดิศบอกว่า เมื่อเราเห็นคนมีทุกข์แล้วสร้างสุขให้พวกเขาได้ เราก็มีความสุข

“แรกๆ ที่ผมเข้าไปสนับสนุนเรื่องพวกนี้ มีคนในชุมชนถามผมว่า ถ้าผลิตออกมาแล้ว อาจารย์จะรับผิดชอบเรื่องการตลาดให้ไหม เพราะผักอินทรีย์หน้าตาไม่งามเหมือนผักที่ปลูกด้วยสารเคมี ชาวบ้านคนหนึ่งก็ลองปลูกถั่วฝักยาวโดยไม่ใช้เคมี ผมก็เอามาแพ็คใส่ถุงขายที่ตลาดนัดโรงพยาบาลในธรรมศาสตร์
โดยวางกระป๋องให้หยอดเงิน ก็ขายได้”

หลังจากเกษตรกรเห็นว่า ขายได้ จึงมาขายด้วยตัวเองผ่านมากว่าสี่ปีแล้ว อาจารย์กษิดิศ บอกว่า “ผมอยากให้ลองปลูกผักไร้สาร ถ้าไม่มีพื้นที่ ก็ปลูกในถุงแบบนี้แหละ”

Monday, October 19, 2009

“The way to be the Entrepreneur”


This inspiration of this article came from the “Small Business” ‘s Topics in the Business Week, the American’s Best Young Entrepreneurs and The Asia’s Best Young Entrepreneurs. First, let’s guess, who are more likely to start a business? It’s not the hard question, right? The answer is certainly experienced worker. The research which based on the data from 1996 to 2007 from Kauffman Foundation stated that there are twice as many tech entrepreneurs create ventures in their 50s as do those in their early 20s. Not surprisingly, the successful entrepreneurs need the experienced, the capital and the encouragement. I think it is true in term of “law of the large number” which is for sure there will be some companies that are built by young people (if you are interested in the topics, they are available in www.businessweek.com/smallbiz). However, I am quite sure that if we have a strong dream, diligent, and good will, we can successfully become one of the renowned entrepreneurs. Let’s look at the “Asia’s Best Young Entrepreneurs” first, I found that most candidates came from “Indonesia”. This might be implied that there are some hidden potential growths for the future of the country. The interesting and related to the agricultural business is the young entrepreneur from Indonesia. The company produces nutmeg (ลูกจันทร์), patchouli, and citronella (ตะไคร้หอม) oils. I think the two main reasons for building this company are the rich of the raw material in the country and the specialized knowledge of the business. The owner built the company in 2006 and now it has increased tenfold.

Another example is from the “American’ Best Young Entrepreneurs”. Interestingly, the idea of the company came while they, the owners, are study the business ethics. The guest lecture mentioned that people in East Africa used coffee grounds to grow mushrooms to fight malnutrition. Then they started researching, finding the budget, and implementing. Nowadays, they can grow 500 pounds of mushrooms a week and they predict that the revenue will be $200,000 at the end of this year.
In the business week website, it provides a lot of details and other fascinating young entrepreneurs. I am sure that you will gain a lot of good resources and insightful motivation. “Even though the roads are not paved with the roses, If we are determine, someday we will be successful”. Good luck, Bis Bald. ;-)

Thursday, October 15, 2009

"Meet The Celebrity Gardener" from Business Week

How Japanese-born Asafumi Yamashita created a bustling backyard business growing vegetables for some of the top chefs in Paris


Asafumi Yamashita runs his fingers delicately through a bushy green tomato vine, plucking handfuls of blueberry-sized fruit. The bright red micro-tomatoes, bursting with potent, sweet flavor, will soon be on their way from Yamashita's greenhouse in the French town of Chapet to legendary Paris restaurants Pierre Gagnaire and l'Astrance.

Yamashita is a celebrity gardener, one of a select group of small producers who supply some of the world's top chefs. A stark contrast to giant agribusinesses, micro-entrepreneurs such as Yamashita thrive by offering personal service and exquisite products that chefs can't find elsewhere. "Asafumi's Japanese vegetables taste so sweet they're almost fruit-like," l'Astrance head chef Pascal Barbot says. "His vegetables are truly unique."

The Japanese-born Yamashita, 56, found his place in this exclusive club almost by accident. He first came to Paris at age 22 to study French at the Sorbonne, staying on for a few years before returning to Tokyo to start an import-export business. But he quickly grew restless. "I craved tranquility, the open air, something less mundane," he says.
Backyard bonsai

Returning to France in 1989, he set up a bonsai-growing business in his backyard in Chapet, about 30 kilometers northwest of Paris. He chose bonsai because his father had raised them, and because the miniature trees "were all the rage in Paris," he recalls. Besides selling bonsai, he rented them to hotels and restaurants, including a Japanese restaurant called Benkey. He became friends with Benkey's head chef, who suggested that he start growing Japanese vegetables that weren't available locally and supplying them to Japanese restaurants.

With an initial investment of only $500 to buy seeds from Japan, he planted his first crop in November 1996, including such vegetables as komatsuma, a kind of spinach, and hatsukadadikon, Japanese radishes. Within a year, he was supplying 12 Japanese restaurants around Paris.

But Yamashita soon set his sights on a new clientele. "I believed my vegetables were Michelin three-star quality," he says. "I was determined to sell them to cooks who would know how to prepare them and let their true flavors come alive."

Yamashita gained entrée to the elite world of haute cuisine four years ago through his friend Yuzo Uehara, a Japanese chef working in Paris. Uehara had trained Christian Le Squer, now the head chef at Ledoyen, one of only 10 Paris restaurants awarded Michelin's highest three-star ranking. Armed with an introduction from Uehara, Yamashita arrived at Ledoyen's kitchen bearing a basket of his homegrown vegetables. When Le Squer tasted one of Yamashita's fruity white turnips, or kabu, he was floored. He hired Yamashita on the spot as one of his regular suppliers.
Keeping It Small

After that, Yamashita's reputation quickly spread by word of mouth. "I never did any marketing to gain new clients," he says. His business now grosses about $150,000 a year, supplying vegetables to seven clients: six Michelin-starred Paris eateries and one local Japanese restaurant.

Yamashita could easily expand his operation, which consists of six greenhouses on an acre of land behind his house. He has a waiting list of prospective customers, including the in-house restaurants of swanky Paris hotels Le Meurice, the Bristol, and L'Hôtel de Crillon.

But he wants to keep the business small. He has no employees, preferring to garden alone and with his wife, Naomi, and making an annual trip to Japan to select seeds for the next year's crop. "I can only produce so much in my backyard, about 80 to 90 kabus and 30 kilos of vegetables a week," he says. "The restaurants end up fighting over my vegetables."

Fighting—and paying dearly. Yamashita's micro-tomatoes cost a mouthwatering $40 a pound, while his komatsuma sells for $13 a pound, and his kabu for almost $9.
Garden Cubism

Staying small allows Yamashita to give his clients the personal touch, delivering vegetables to restaurants himself rather than using a distributor as most producers do. The arrangement also gives him a chance to rub elbows with some of the world's best chefs—and sometimes advise them on how to prepare vegetables. "I once told Pierre Gagnaire to stop slicing my kabus and cube them instead so they could retain their sweetness," he recalls. "He listened to me and now serves them that way."

Now he's starting to develop a following among discriminating French diners. L'Astrance chef Barbot recently called Yamashita to place a big order for micro-tomatoes at the request of a special client. "It was none other than Catherine Deneuve," he says. "Apparently her granddaughter adores my tomatoes."

Wednesday, October 14, 2009

กล้วย ที่ไม่ใช่เรื่องกล้วยๆ

(ข้าพเจ้าไม่ใช่หน้าม้าของคุณเขมชาติแต่อย่างใด แต่ข้าพเจ้าอ่านเรื่องของคุณเขมชาติแล้วจึงไปค้นหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Gros Michel ในอินเตอร์เน็ต เผอิญว่าเจอบทความที่เกี่ยวข้องอย่างยิ่ง จึงขออนุญาตนำมาลงให้อ่านกัน – ท่านผู้อ่านควรอ่านบทความของคุณเขมชาติก่อน แล้วจึงอ่านบทความนี้ตาม เมื่ออ่านจบแล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง สำหรับข้าพเจ้าแล้วรู้สึกเหมือนตอนสอบวิชาแคลคูลัสเสร็จ)

กล้วย ที่ไม่ใช่เรื่องกล้วยๆ


โดย วรากรณ์ สามโกเศศ มติชนรายวัน วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2546

พวกเราคนไทยคงเคยสงสัยเหมือนกันว่า เหตุใดจึงไม่มีการส่งออกกล้วยที่ปลูกได้ง่ายดายและมีหลากหลายพันธุ์ มีปริมาณมาก มายในบ้านเราไปขายในต่างประเทศบ้าง

เลิกสงสัยเถอะครับ เพราะตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรปที่เป็นตลาดกล้วยใหญ่ที่สุดในโลก เขาบริโภคกันอยู่พันธุ์เดียวคือพันธุ์ CAVEN DISH ซึ่งมีหน้าตาและรสชาติคล้ายกล้วยหอมแต่ไม่เหมือนกล้วยหอม

พันธุ์กล้วยทั้งโลกมีอยู่มากกว่า 500 พันธุ์ ในบ้านเราที่รสชาติดี และเป็นที่ถูกใจคนไทยก็คือ กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก (ไว้ปิ้ง) ฯลฯ

แต่ถึงจะอร่อยอย่างไรก็ไม่ถูกลิ้นตลาดข้างต้น ซึ่งเคยชินกับหน้าตาและรสชาติของพันธุ์ CAVENDISH จนไม่สนใจพันธุ์อื่น

กล้วยที่คนอเมริกันบริโภคมูลค่าปีละ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เรียกได้ว่าเป็นพันธุ์ CAVENDISH เกือบทั้งหมดโดยนำเข้าจากอเมริกาใต้ จะมีพันธุ์แปลกหลุดเข้ามาขายบ้าง ก็เฉพาะในเขตเมืองที่มีคนเอเชียอาศัยอยู่เท่านั้น

แหล่งที่มาของกล้วยพันธุ์ CAVENDISH ที่ส่งเข้าสหรัฐอเมริกาในแต่ละปี มาจากหลายประเทศในอเมริกาใต้มูลค่า 290.6 ล้านเหรียญ มาจากเอกกัวดอร์ 258.1 ล้านเหรียญ มาจากกัวเตมาลา 249.9 ล้านเหรียญ จากคอสตาริกา 186.5 ล้านเหรียญ จากโคลัมเบีย และ 119.7 ล้านเหรียญจากฮอนดูรัส

ถ้าพิจารณาแหล่งการผลิตกล้วยในโลกแล้ว ก็จะแปลกใจเพราะปริมาณกล้วยส่วนใหญ่ในโลกในแต่ละปี ผลิตในเอเชีย แต่มีการส่งออกไปสองตลาดใหญ่มีน้อยมาก เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในอเมริกาใต้ ในจำนวนกล้วยประมาณ 17 ล้านตันที่ผลิตในโลกในแต่ละปี ไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง ผลิตในอินเดียและจีน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิน เดีย) ประมาณ 5-6 ล้านตันเท่านั้นที่ผลิตในอเมริกาใต้

การปลูกกล้วยส่งออกนั้นไม่ใช่เรื่องกล้วยๆ แม้แต่น้อย การเพาะปลูกและ การเก็บเกี่ยวเป็นปัญหา เพราะจะต้องตัดในเวลาที่พอเหมาะ นำมาผ่านกระบวนการเพาะบ่ม ฆ่าเชื้อรา บรรจุในกล่อง และถึงที่หมายอย่างสุกงอมได้ที่

กระบวนการนี้ต้องการความรู้ และเทคโนโลยีที่จะได้มาจากบริษัทใหญ่ของต่างประเทศ ที่ได้มาลงทุนในประเทศละตินอเมริกา ยาวนานแล้ว

ดังนั้น รสนิยมของผู้บริโภคในสองตลาดนี้ จึงถูกกำกับโดยความเคยชินที่ผูกโยง กับประวัติศาสตร์ของการเพาะปลูก กล้วยอย่างเป็นระบบโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ (ช่างน่าสงสารผู้บริโภคเหล่านี้เสียนี่กระไร ที่ขาดโอกาสรู้จักกล้วยเล็บมือนาง กล้วยไข่ และกล้วยน้ำว้า)

กล้วยมากมายหลากหลายพันธุ์นั้น มีที่บริโภคได้อยู่จำนวนหนึ่งเท่านั้น พันธุ์อื่นๆ เต็มไปด้วยเมล็ดรสชาติขื่นขม มียางหรือลูกเล็กมาก และปอกเปลือกไม่ได้ง่าย พันธุ์ที่บริโภคได้นี้ได้ผ่านการคัดสรรพันธุ์ที่มีแววพอที่จะบริโภคได้ อย่างมีความสุขมายาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้เลือกให้มันขยายพันธุ์ด้วยหน่อ แทนที่จะเป็นเมล็ด ที่เกิดขึ้นจากการผสมของเกสรตัวผู้ และตัวเมียของต้นกล้วยข้างเคียงกัน และด้วยสาเหตุนี้แหละ ที่ทำให้การปลูกกล้วยในระบบสวนไร่ มีปัญหาในปัจจุบันเป็นอย่างมาก

กล้วยพันธุ์เหล่านี้ถูกโรคระบาดได้โดยง่าย เมื่อมันมาครั้งหนึ่งก็จะล้างพันธุ์ไปหมดเลย ทั้งนี้เพราะไม่มีการผสมข้ามพันธุ์ เนื่องจากใช้หน่อขยายพันธุ เมล็ดที่มีก็เล็กลีบจนไม่อาจสืบพันธุ์ต่อไปได้ การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม และความสามารถในการต่อต้านเชื้อโรค จึงมีต่ำ ซึ่งแตกต่างจากกล้วยป่าที่มีเมล็ดตามธรรมชาติ และขยายพันธุ์เองตามธรรมชาติ จึงมีความสามารถในการปรับตัวได้สูงกว่ามาก

ตัวอย่างก็คือการระบาดของเชื้อโรค PANAMA DISEASE ในกล้วยพันธุ์ GROS MICHEL ในทศวรรษ 1950 และ 1960 ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่นิยมจนล้างพันธุ์ไป และได้พันธุ์ CAVENDISH ที่หลุดรอดจากโรคนี้มาแทนที่ ถึงแม้จะหวานน้อยกว่าก็ตาม

โรคร้ายที่ระบาดในกล้วยไปทั่วโลกในขณะนี้ก็คือ BLACK SIGATOKA ซึ่งเป็นเชื้อราที่โจมตีใบจนผลผลิตลดลงไปถึงร้อยละ 30 ถึง 80 ในบางกรณี โรคนี้ป้องกันได้โดยการพ่นยาฆ่าเชื้อรา แต่ทั้งโลกก็ใช้วิธีนี้เพียงร้อยละ 14 ของผลผลิตกล้วยทั้งโลก กล้วยส่วนใหญ่ที่ปลูกไว้กินตามบ้านไม่มีการพ่นยาฆ่าเชื้อจึงเสี่ยงต่อการสูญเสียอยู่ไม่น้อย

ล่าสุดเชื้อโรคกลายพันธุ์จาก PANAMA DISEASE ที่ล้างพันธุ์ GROS MICHEL ไปกำลังโจมตีกล้วยที่ราก ซึ่งป้องกันด้วยการพ่นยาไม่ได้ อย่างไรก็ดี โรคนี้ยังไปไม่ถึงอเมริกาใต้ จึงยังไม่ถึงพันธุ์ CAVENDISH ที่แรงงานสนับสนุนการปลูกเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรจำนวนมาก การอาจถูกคุกคามของโรคนี้ทำให้อนาคตของกล้วยพันธุ์นี้ไม่สดใสนัก

มีความพยายามที่จะพัฒนาพันธุ์กล้วยใหม่ที่ต้านเชื้อโรคและเชื้อราได้ดี เพราะการใช้ยาพ่นฆ่าเชื้อไม่ใช่วิธีการที่ยั่งยืน แต่ก็เป็นงานที่ยากเพราะกล้วยนั้นต้องช่วยเหลือโดยมนุษย์จึงจะมีการผสมของเกสรตัวผู้และตัวเมียอย่างมีประสิทธภาพ โดยแท้จริงแล้วสถาบันวิจัยกล้วยบางแห่งได้ผลิตกล้วยพันธุ์ใหม่ที่ต้านเชื้อได้สำเร็จ แต่รสชาติยังเป็นปัญหาพันธุ์หนึ่งนั้นผลิตกล้วยที่มีรสชาติเหมือนแอปเปิ้ล!
นักวิทยาศาสตร์บางส่วนก็ต้องการสร้างกล้วยพันธุ์ใหม่แบบ GMO (แก้ไขรหัสพันธุกรรมเลยเพื่อให้ได้ลักษณะที่ต้องการ) แต่ก็ลังเลเพราะคาดว่าการตอบรับกล้วยพันธุ์ใหม่นี้คงจะไม่ง่ายนัก

เพราะความกลัว GMO ยังมีอยู่มาก

สำหรับบ้านเราการส่งออกกล้วยไปแข่งกับกลุ่มละตินอเมริกา เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากในระยะเวลาปานกลาง
อย่างไรก็ดี การพัฒนาตลาดใหม่ในเวลาอันควรในซีกอื่นของโลก ด้วยการส่งออกกล้วยที่เราถนัดในการผลิต มีความเป็นไปได้มากกว่า ถ้าเรามีการค้นคว้ากันอย่างกว้างขวางกว่าในปัจจุบัน อย่ามองว่า กล้วยเป็นเพียงเพื่อการบริโภคเท่านั้น กล้วยสามารถพัฒนาเป็นไม้ประดับสวยงาม และประหลาดขนาดเล็กก็ได้ ดังที่มีการพัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สินค้าเกษตรเป็นสิ่งที่คนไทย มีความสามารถในการผลิตชนิดได้เปรียบในเชิงเปรียบเทียบ (COMPARATIVE ADVANTAGE) มายาวนานถึงแม้ว่าโดยเฉลี่ยภาคเกษตรของไทยจะมีผลิตภาพหรือผลผลิตต่อไร่ (PRODUCTIVITY) ต่ำ เมื่อเทียบกับหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ แอฟริกาใต้ ฯลฯ และมีการเปลี่ยนแปลงในผลิตภาพระหว่าง 1995-1999 ต่ำกว่าร้อยละ 0.5 ก็ตาม แต่เราก็ไม่ควรละทิ้งภาคเกษตร เพราะนอกจากสามารถผลิตอาหารให้ประชากรแล้ว ยังทำหน้าที่เสมือนเบาะรับการล้นของแรงงานจากภาคอุตสาห กรรมอีกด้วย ดังเช่นที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.2540-2543

กล้วยไทยเกือบทั้งหมดในปัจจุบันผลิตโดยเกษตรรายย่อย เพื่อการบริโภคในประเทศ เท่าที่ทราบยังไม่เคยมีการประเมินผลิตภาพ ในการผลิตกล้วยในบ้านเรา แต่เชื่อว่าคงไม่สูงนัก การค้นคว้าวิจัยในเรื่องพันธุ์กล้วย และการพัฒนาเป็นอาหารของบ้านเราในหลายรูปแบบตลอดจนการพัฒนา SME"S CLUSTER รอบการผลิตกล้วยเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่ง หากต้องการหาประโยชน์จากผลไม้ที่คนไทยรู้จักและพึ่งพิงกันมายาวนาน

เมือพูดถึงกล้วยและวิชาการก็ให้นึกถึงคำพูดของนักวิชาการต่างประเทศที่โยงใยผู้จบปริญญาเอก แล้วมิได้ศึกษาวิจัย ผลิตงานวิชาการสำคัญออกมาอีกเลยนับแต่ได้ทำวิทยา นิพนธ์แล้ว ว่าป็น "DR.BANANA"

เพราะต้นกล้วยนั้นมีผลออกมาครั้งเดียว แล้วก็ตายเลย

"Gros Michel" - Golden Banana, Golden Opprotunity


I have the inspiration about this topic from "Krung Thep Tu Ra Kit" (www.bangkokbiznews.com). I personally like bananas and eat them almost every day during studying. Surprisingly, even in Switzerland, it is easy to find the “Gros Michel” and I think people here love them. However, I found that just only this particular kind of bananas can massively sell here. How much is the price for 1 kg banana? In here, Switzerland, it’s around 2-3 Swiss France/kg (THB 60-90). In contrast, the regular lunch meal is around CHF 10-20. How popular is the “Gros Michel” in EU? Let’s imagine like this, in every modern shop in Switzerland - Migro, Coop, Denner, you can find bananas. In addition, they sell them all year long, no matter in winter or summer season. Another example, if you like watching tennis, it’s quite often that during the match the professional players often eat “Gros Michel”.


From the article in “Krung Thep Tu Ra Kit”, just only one country – Japan, it consumes 1 million Ton of “Gros Michel” each year. This means around 25 grams/person/day. The selling price for 4 bananas is Yen 100 – 300. Philippine share the most part of Japan’s market, 90%. However, Thailand expected to export only 1,700 in 2010!!! What’s wrong? Nevertheless, the good aspect for Thai’s “Gros Michel” is the quality and the taste which can sell in the premium price (THB 200/4 bananas).














In my opinion, I totally don’t think that only one exceptional kind of bananas can export. We have a lot more kinds of vegetable/fruits that can be export if we know where is the demand, which channel to sell, How to improve the production’s efficiency? Etc. Before the end of the article, I encourage the reader to build their own part, move toward sustainability and long standing business, and use our own strength to be beneficial (for the South East Asia, we have a fertilized and abundant landscapes which can grow the crop all year long). One last remark, it’s important that we need to build cooperative network and don’t forget to concern our society.

Monday, October 12, 2009

ยึกๆยักๆ ตอนที่๒

อุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิดหรือสันดานของข้าพเจ้านั้นจัดเป็นพวกยึกๆยักๆ เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านมีสันดานแบบเดียวกับข้าพเจ้า ประเทศไทยจึงไม่วัฒนาผาสุกอย่างที่เราต้องการเสียที

ยึกยัก (พจนานุกรมราชบัณฑิยสถาน)

ความหมาย

ก. ขยุกขยิก, ยักไปยักมา, เช่น นั่งทำตัวยึกยัก. ว. อาการที่ลังเลไม่กล้าตัดสินใจ, กระยึกกระยัก ก็ว่า.

มันก็เป็นเสียอย่างนี้ จึงบ่นกันว่า ทำไมทำไม ถ้าถ้า ไว้ก่อนไว้ก่อน ดูก่อนดูก่อน ข้าพเจ้าเคยเห็นป้ายประกาศหาเสียงของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดระยอง เขียนตัวโตๆว่า “บอกหนึ่งครั้ง ดีกว่าบ่นร้อยครั้ง” เข้าใจว่าผู้ลงประกาศคงรำคาญอาการยึกๆยักๆเช่นกัน

สาเหตุที่ข้าพเจ้ายึกๆยักๆเพราะไม่ต้องการผลร้ายของสิ่งที่คิดจะทำ อันเรื่องราวต่างๆในโลกปัจจุบันนั้น มีหลายอย่างที่ความเสี่ยงน้อย แต่ความคิดของข้าพเจ้าส่วนใหญ่โน้มเอียงไปอีกทางมากกว่า ความจริงเรื่องที่กำลังเขียนอยู่นี้ลึกซึ้งทีเดียว มันเป็นเรื่องเกิดมาทำไม ถึงตรงนี้นึกขึ้นได้ถึงหนังจักรๆวงศ์ๆเรื่องหนึ่ง ตัวละครโหดเหี้ยมตัวหนึ่งชอบตะโกนว่า “อยู่ไปทำไม ตายเสียดีกว่าอยู่” ตะโกนไปทั้งเรื่องเอาสะใจเข้าว่า ตอนนั้นข้าพเจ้าฟังแล้วขำ ตอนนี้ก็ยังขำอยู่ แต่ก็คิดด้วยว่ามันเป็นปริศนาธรรมเหมือนกันนี่นะ

หนังสงครามฉากที่ยกพลบุกตะลุยดงศัตรู พวกที่ยึกยักจะโดนยิงตายตรงนั้นทุกคน พระเอกของเราไม่ยึกยัก จึงรอดตายเสมอ แต่บางเรื่องพระเอกก็ตายตอนจบเช่นกัน

การเริ่มต้นทำอะไรที่ไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นเลยเป็นเรื่องสนุกตรงที่เริ่มต้นตรงไหนก็ได้ จะหาข้อมูล จะหยิบจะอ่านอะไรก็โยงเข้าเรื่องของเราได้หมด ขอเชิญชวนผู้อ่านทุกท่านมาเริ่มต้นทำอะไรที่ไม่มีความรู้เรื่องนั้นเลยกันเถิด เพราะข้าพเจ้าเชื่อว่าสนุกและดีกว่าเรื่องที่มีความรู้มาอยู่แล้วมาก เรื่องนี้ถ้ามีโอกาสคงได้อธิบายยืนยันความเชื่อกันอีก

จากประสบการณ์ที่ได้สัมผัสเกษตรกรมาบ้างนั้น พบว่าเกษตรกรแต่ละท่านก็ยึกๆยักๆเหมือนกัน เมืองไทยมีกรมวิชาการเกษตรเป็นเจ้าภาพเรื่องความรู้ทางด้านการเกษตร ศึกษาเพียงผ่านๆก็เห็นว่าเรามีฐานความรู้และงานวิจัยที่ก้าวหน้า แต่ทำไม Productivity ของเกษตรไทยจึงต่ำเตี้ยเรี่ยดินเช่นนี้ ข้าพเจ้าเดาเอาว่ามีความรู้แต่ไม่นำไปใช้เสียมากกว่า (Poor Implementation)

ทำไมจึงไม่นำไปใช้? ทำไมจึงไม่ใช้ความรู้ที่ก้าวหน้า? ข้าพเจ้าไม่รู้และไม่ขอเดาต่อไป ขอจบเช่นนี้เพื่อไปหาความรู้เพิ่มเติมก่อน

เขียน ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ ที่เชียงใหม่พลาซ่า

Thursday, October 8, 2009

There is a will, there is a way


This is the new blog that I set up with Mr. Natee - Toey. I plan to use it as the gateway to communicate between each other and possibly other future colleagues. My job right now is to find the idea, possible way to build our own business which the theme is to specialize in agricultural arena.

First, actually, I don't have to say this. I consider it somehow is unprofessional way to begin with the excuse. However, I will say it only once. The English that I use is not neither the English-UK nor the English-USA. Actually, It's English-Thai, we can say that it's the บ้าน-บ้าน English. So it's no problem for for Thai people or other neighboring countries to understand it. Second, we have to admit - in my perception - that people have more willingness to accept the knowledge in English more than Thai. For example, If you read the news from "The abnormal thinking of Martin Whealer", you will be surprised with the "Ugly Truth" that Thai people tend to listen foreigner more than our own people. It's sad but it's true. He said "I am the foreigner, that 's why you listen to me. If I am just a country boy, you will neglect me"-source Fwd mail, and Matichon. Nevertheless, I also try to use English as the contrast perspective from Mr.Natee. Hope you will enjoy it.

Let's begin with the fact and figure. I found something interesting may be not exactly surprising. The Thai GDP is around USD600 billion. The large parts are in industries and services (40% each) and the agricultural contributed only 10%. However, if we look at the workforce, we found that around 50% of our labor work in agricultural business - source wiki. This is, i think, the first and obvious problem. We certainly can help to increase the productivity of the agricultural in Thailand by many methods such as introducing the hedging concept - locking the prices by the futures, the technology distribution, the natural fertilizer - source Chaloke.com, and etc. This seem to be a big scope and pretty easy idea, why other people don't do it or this solution is stupid and lack of any evident support? I still believe that if we discuss until we found a crux, it's not that hard to implement.

Not only the business that we would like to build, but also the benefit of society that we consider. I personally found that farmer and the worker in the agricultural business usually lack of the opportunities in education, health care, and even social existence status. They are dramatically ignorant by the whole society, even though 50% of the workforces are in this segment. Also, I predict that the trend of the world will change to be more toward friendly nature environment and sustainability. I will show you in the next coming posts. the In addition, I am totally agree with the sustainability economic of His Majesty the King that we should stand by ourselves first before we will compete with other enemy.

Last but not least, before I will go to bed, I recommend you to listen to --> http://www.youtube.com/watch?v=lhtOzwo3yO4&feature=related

After a lot of bull shit from me, I hope this will help...
By the way, the topic and the context inside is not related. I am just curious why we have to use the "Title" related to the context.....may be i am stupid ...55

Good luck-- Bis Bald

ยึกๆยักๆ

อันที่จริงแล้วนี่เป็นบทความที่ข้าพเจ้าไม่ตั้งใจเสนอเท่าไรนัก ด้วยเพราะโดนเชิญชวนหรือท้าทายแกมบังคับจากคุณเขมชาติ ด้วยคุณเขมชาติก็บอกว่าจะเริ่มเขียนมาลงเว็บเช่นกัน แต่ต้องการกำลังใจจากผู้อื่น ข้าพเจ้าได้ให้กำลังใจไปจึงได้รับการตอบแทนมาด้วยรหัสผ่านของเว็บนี้ พร้อมกับบอกด้วยว่า “เขียนมาเร็วๆอยากอ่านแล้ว” ก็ทำให้งงอยู่เหมือนกันว่า ใครจะเขียนใครจะอ่านกันแน่

ทีนี้เมื่อจะเริ่มต้นเขียนจริงๆ เรื่องแรกที่คิดคือ จะใช้สรรพนามแทนตัวเองว่าอย่างไรดี จะใช้ ผม กระผม ฉัน เค้า ไอ หรืออย่างไรดี สุดท้ายจึงคิดตกใช้คำว่า ข้าพเจ้า แทนตัวเอง เพราะเป็นการใช้เลียนแบบนักปราชญ์นักเขียนที่ชื่นชอบอย่างคุณส. ศิวรักษ์ ถ้าผู้อ่านท่านใดติดตามเรื่องของท่านนี้อยู่ก็จะทราบได้ว่า ข้าพเจ้าได้เลียนแบบสำนวนของท่านนี้มามากมายทีเดียว

เรื่องเนื้อหาที่จะเขียนไม่ได้หนักใจเท่าไรเพราะไม่ได้สนใจว่าใครจะมาตรวจให้คะแนน ข้าพเจ้าจะเขียนตามความรู้และประสบการณ์ที่ข้าพเจ้ามี โง่ก็เขียนอย่างโง่

Argricultural Consultant น่าจะแปลว่าที่ปรึกษาด้านการเกษตร คุณเขมชาติและข้าพเจ้ามีความสนใจด้านการเกษตร ความสนใจไม่ได้หมายความว่ารู้เรื่องการเกษตรดี เพียงแต่เห็นคล้อยตามกันว่า การเกษตรจะเป็นทางออกของประเทศ เป็นการออกไปสู่จุดเริ่มต้นที่เราเคยเป็นมา ข้าพเจ้ามีบรรพบุรุษเป็นเกษตรกรทั้งสิ้น ปู่ทำสวน ตาทำนา ส่วนข้าพเจ้าเป็นที่ปรึกษาโรงงาน มีโอกาสได้สัมผัสทั้งบรรยากาศเรือกสวนไร่นาและโรงงานอุตสาหกรรม ข้าพเจ้าไม่เคยทำงานที่นาหรือที่สวน เคยแต่ไปวิ่งเล่นกระโดดน้ำ จับปลาและพายเรือ แต่ก็เคยเห็นการทำงานของปู่ข้าพเจ้า จึงพอจะบรรยายต่อไปได้บ้าง

การทำงานที่เรือกสวนไร่นานั้นสบายใจอย่างมาก อย่างแรกที่นึกออกคือ เราไม่ต้องดูนาฬิกาว่ากี่โมงแล้ว จะได้ไปทำอะไรๆที่ควรทำ สิ่งที่เราใช้ดูเวลาคือพระอาทิตย์และสัญชาติญาณ บ่อยครั้งที่ข้าพเจ้าได้ยินเสียงออดเรียกเข้างานในโรงงานแล้วหวนนึกถึงความสบายใจของเกษตรกร

สีเขียวเป็นอีกอย่างที่ข้าพเจ้าคิดถึง เป็นสีเขียวที่มาพร้อมกับลม พร้อมกับแดด แล้วก็กลิ่นดินหรือไม่ก็กลิ่นแหนจากท้องร่อง สนามหญ้าที่จุฬาฯตอนที่ข้าพเจ้าเล่นรักบี้ก็ไม่ได้ให้กลิ่นแบบนี้ หรือมันอาจจะให้กลิ่นนี้แต่ข้าพเจ้าหอบหายใจไม่ทันอยู่ก็เป็นได้ ข้าพเจ้าเคยคุยกับผู้บริหารที่โรงงานแห่งหนึ่ง ถามว่าพี่ทำงานจนดึกทุกคืนและทำหกวันต่อสัปดาห์ ทนได้อย่างไร พี่ผู้บริหารตอบข้าพเจ้าว่า พี่ตีกอล์ฟทุกวันอาทิตย์ เดินไปในทุ่งหญ้าเขียวๆ ตีลูกขึ้นฟ้าแล้วมองตามไปให้สุดสายตา นี่แหละที่ทำให้พี่ผ่อนคลายจนอยู่ในโรงงานสีเทานี่มาได้ยี่สิบปีแล้ว ข้าพเจ้าฟังแล้วคืนนั้นเปิดเว็บเรื่องการตีกอล์ฟอ่านทันที ใครเคยทำงานในโรงงานสีเทาคงเข้าใจความรู้สึกข้าพเจ้าได้บ้าง

ที่ข้าพเจ้าเห็นว่าการเกษตรเป็นทางออกนั้น เรื่องประสบการณ์ส่วนตัวมีส่วนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่เพราะข้าพเจ้าเห็นด้วยกับนักวิชาการหลายคน ที่วิเคราะห์ว่า สำหรับเมืองไทย การเกษตรที่มีการจัดการที่ดีจะเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว อีกทั้งการตลาดในอนาคตทุกท่านน่าจะรู้ว่า การขาดแคลนอาหารของโลกได้เริ่มต้นมาระยะหนึ่งแล้ว

ที่ใช้ชื่อบทความว่ายึกๆยักๆนั้น ข้าพเจ้ายังไม่ได้เขียนถึงเลย แต่ขณะนี้สมควรแก่เวลาที่ข้าพเจ้าต้องพักสายตาบ้างแล้ว ไว้มีโอกาสจะเขียนเล่าให้ฟังอีกแน่นอน บทความแรกได้เท่านี้ก็คงสมใจคุณเขมชาติแล้ว

เขียน ๘ ตุลาคม ๒๕๕๒ ที่เชียงใหม่พลาซ่า