Wednesday, October 28, 2009

"Another our role model"

Actually I don’t neither know him personally nor his reputation on his works. I just heard his name before. After I read the “Bangkok Biz News”, it turns out that his concept and his works are far more than the ordinary interesting. It’s what we want to be and what we want to stand in the future. The aim of our business is not only the profit on bottom line, but also the meaningful contribution to the society. Mr.Meechai said it’s the “Business for Social Progress”. I believed this trend of concept (Business for Social Progress) is forming all around the world, for example, carbon credit, renewable energy, and biodiesel – ethanol (in Brazil). Also, in the near future, in our life time, I am quite sure we will see such a lot of this kind of businesses. The following is the article from กรุงเทพธุรกิจ.

คนรุ่น "เบบี้ บูมเมอร์" ต่างรู้จัก "มีชัย วีระไวทยะ" ดี จากพลังการสื่อสารรณรงค์การคุมกำเนิด ที่เขาหยิบ "ถุงยางอนามัย" มาเป็นเครื่องมือแถมพกด้วยกลยุทธ์มิวสิคมาร์เก็ตติ้ง จนติดปากกันไปทั่วว่า "ลูกมากจะยากจน" 35 ปีผ่านไป เขาสามารถสร้าง "ความเปลี่ยนแปลง" ให้เกิดขึ้นกับสังคมไทยมากมาย ด้วยผลจากการทำงานในสไตล์ Walk the Talk
"เครื่องมือหลัก" ในการทำงานด้านพัฒนาสังคมของ มีชัย วีระไวทยะ ขณะนี้คือ "ขุมข่ายกลุ่มทุน" จากภาคธุรกิจ ให้เข้ามามีส่วนเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านวางแผนครอบครัว งานต่อสู้โรคเอดส์ และงานพัฒนาชุมชนทำให้สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนได้รับแรงหนุนจากภาคธุรกิจทั้งในประเทศ และต่างประเทศมากกว่า 400 บริษัท เกิดโครงการต่างๆ กระจายทั่วประเทศครอบคลุมพื้นที่ดำเนินการกว่า 25,000 หมู่บ้าน และเป็นโครงการที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 2,500 หมู่บ้าน ภายใต้การดูแลของบริษัท 18 แห่ง คิดเป็นเม็ดเงินระดมทุนไม่น้อยกว่า 1,200 ล้านบาท เงินจำนวนนั้น ช่วยให้ชุมชนสามารถสร้างรายได้มากกว่า 3,700 ล้านบาท
"นี่คือโมเดลใหม่ของการทำงานเพื่อสังคม"
มีชัยบอกว่า ในทัศนะของเขา ขอเรียกสิ่งที่สมาคมทำว่าเป็น "Business for Social Progress" ไม่ใช่ "Social Enterprise" ที่แม้จะอยู่ในคอนเซปต์การทำธุรกิจเพื่อสังคม เน้นความยั่งยืนเช่นเดียวกันก็ตาม เพราะในต่างประเทศคำว่า Social Enterprise จะหมายถึงองค์กรไม่แสวงหากำไร เช่น มูลนิธิ หรือสมาคม ที่กฎหมายเปิดให้ดำเนินธุรกิจได้เพื่อเป้าหมายทางสังคม นโยบายการดำเนินกิจการของ 18 บริษัทนั้น มีหลักการสำคัญคือ รายได้หรือผลกำไร บริษัทจะใช้สำหรับการทำธุรกิจเพื่อสังคม หรือใช้ในงานสาธารณประโยชน์เท่านั้น ผู้ถือหุ้นไม่มีความประสงค์จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการถือหุ้น แต่สามารถส่งมอบสิทธิในการถือหุ้นให้บุคคลอื่นหรือทายาทได้ ภายใต้บรรทัดฐานเดิม ในแง่การทำธุรกิจ บริษัทเหล่านี้จะรับซื้อสินค้าจากชุมชนในราคาเหนือกว่าราคาตลาดโดยเฉลี่ย 10-20 เปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกันชุมชนยังได้รับความรู้เรื่องการบริหารจัดการ การจำหน่ายวัตถุดิบ การบริหารการตลาด จากบริษัทดังกล่าวด้วย เท่ากับว่าบริษัทจะลงมาช่วยชุมชนทำธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ "ผมเริ่มต้นจากการชักชวนคนที่รู้จักรักใคร่สนิทสนมให้มาลงทุน บอกพวกเขาไปว่าลงทุนในแบงก์ได้แต่ดอกเบี้ยกับกำไรนิดหน่อย แต่ลงทุนกับสมาคมจะได้ความสุข เช่นเดียวกัน ผมจะบอกพนักงานของผมว่า ทำงานกับสมาคมได้กำไรสองอย่างนะ อย่างแรกคือเงินเดือน อย่างที่สองคือความสุข" มีชัยบอกว่า สังคมไทยยังตื่นตัวเรื่องการทำธุรกิจเพื่อสังคมน้อย เหมือนการปีนเขา ไม่รู้เมื่อไหร่จะถึงยอดเขา เลยรู้สึกเหนื่อยง่าย แต่เมื่อถึงยอดเขาแล้วก็จะไหลลื่น "ต้องปลุกระดม" กันอีกมาก เขาบอก ก่อนเล่าว่า รู้สึกตกใจเล็กน้อยที่อ่านข่าวพบว่าองค์กรระดับโลกอย่างสโมสรโรตารี่ ยอดเงินบริจาคหดหาย เพราะนั่นเป็นภาพสะท้อนว่าโลกเปลี่ยนไปจากอดีตมาก การรอหวังเงินบริจาคจะไม่ใช่คำตอบอีกต่อไป "ตลอด 35 ปีที่ดำเนินการ สมาคมยืนหยัดอยู่ได้ด้วยการพึ่งตนเอง แต่ผมไม่ใช่นักธุรกิจนะ ผมเป็นเอ็นจีโอ" มีชัยไม่เพียงแต่สร้างพลังและขยายฐานเครือข่ายภาคธุรกิจในระดับประเทศ แต่ยังได้สร้างแผนที่การเดินทางให้สมาคมเป็นที่รู้จักในกลุ่มประชาคมโลกและ องค์กรระหว่างประเทศ โดยจัดตั้งมูลนิธิ Population and Development International หรือ พีดีไอ ในประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้น เพื่อหาทุนในระดับต่างประเทศ และทุกวันนี้ ใครๆ ต่างรู้จักสมาคมหรือพีดีเอ Population and Development Association ดี ในฐานะองค์กรพัฒนาเอกชนสัญชาติไทยที่ได้รับรางวัลระดับโลกมากที่สุด เช่น รางวัลผู้นำด้านธุรกิจเพื่อสังคม ปี 2551 จากมูลนิธิสกอลล์ (Skoll) มูลค่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รางวัล Gates Award for Global Health 2007 จาก The Bill & Melinda Gates Foundation ซึ่งนับเป็นรางวัลด้านสาธารณสุขที่ใหญ่ที่สุดของโลก มูลค่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐเช่นกัน และมีชัยยังได้รับรางวัล Asian Hero Award (2549) จากนิตยสาร Time Magazine และอีกมากมาย ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีชัยผ่านประสบการณ์งานหลากหลาย ทั้งงานภาคธุรกิจ ภาคการเมือง จึงสามารถประยุกต์และสั่งสมทักษะด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน ที่สำคัญ น่าจะเป็น "บุคลิกเฉพาะตัว" คือทำงานแบบถึงลูกถึงคนและมีความรอบรู้ในสิ่งที่ทำ
"สไตล์การบริหารงานของผมคือ walk & talk เดินไปพูดคุยกับทีมงาน แต่ไปเพื่อจับถูกนะ ไม่ใช่จับผิด ไถ่ถามสารทุกข์สุกดิบ ซึ่งไม่ใช่แค่ตัวเขาแต่ถามไปถึงลูกถึงหลาน ระหว่างนั้นเราจะสังเกตได้เลยว่าใครมีปัญหาหรือมีความสุขกับงานขนาดไหน" บนเส้นทางนักพัฒนา มีชัยกลับบอกว่า เขาไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้เสียสละ นอกจากทำในสิ่งที่ชอบและสนุกกับงานแบบนี้ เท่านั้นเอง "ครอบครัวมีส่วนเพราะผมเห็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ผมปฏิบัติกับผู้คนตั้งแต่ผมยังเด็กๆ ระหว่างคนที่มีโอกาสกับคนด้อยโอกาส"
นั่นเป็นแรงบันดาลใจ มีชัยเล่าว่า ในวัยเด็ก เขามักติดตามคุณพ่อคุณแม่ซึ่งเป็นหมอไปเล่นที่คลิกนิก แต่อดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมคลินิกแห่งนี้ถึงมีห้องคนไข้ห้องเล็กๆ แยกตัวออกมาต่างหากอีกห้องหนึ่ง เลยถามคุณแม่ ก่อนได้คำตอบว่า ในโลกนี้มีคนที่เกิดมาแล้วมีชีวิตที่ "ได้เปรียบ" คนอื่น เราควรช่วยคนที่ "เสียเปรียบ" เมื่อเห็นว่าตนเองจัดอยู่ใน "คนกลุ่มแรก" เขาจึงยึดเอาแนวคิดต้องช่วยเหลือผู้ที่เสียเปรียบมาใช้โดยตลอด

No comments:

Post a Comment